messager
 
องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม call ข้อมูลการติดต่อ

องค์การบริหารส่วนตำบล
โพนงาม
อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

ยินดีต้อนรับ เข้าสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
image สถานที่ท่องเที่ยว
 
info_outline วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
วิสัยทัศน์
“บ้านเมืองน่าอยู่ เคียงคู่การบริหารจัดการที่ดี คนมีการศึกษาและวินัยร่วมใจฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทุกชีวิตอยู่ดีกินดี”

เป้าหมาย
1) คนมีความเข้มแข็ง มีความรู้ มีการศึกษา มีสุขภาพที่ดี ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2) ผลผลิตทางการเกษตรได้มาตรฐานและปลอดภัยตามเกณฑ์มาตรฐานที่ดี (GAP) 3) การคมนาคมติดต่อสื่อสารสะดวกทั้งทางบกและทางอากาศทำให้มูลค่าการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้น 4) การท่องเที่ยวสร้างรายได้มวลรวมให้ตำบลเพิ่มมากขึ้น 5) มลพิษที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ขยะ น้ำเสีย ได้รับการบำบัดแก้ไข และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู 6) การบริหารจัดการภาครัฐแบบมีส่วนร่วม สะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สร้างความพึงพอใจในการให้บริการ และเกิดประโยชน์แก่ประชาชน

insert_drive_file ข้อมูลหน่วยงาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมาคำว่า โพนงาม เป็นภาษาอีสาน หมายถึง จอมปลวกขนาดใหญ่ หรือเนินดิน กองดินขนาดใหญ่ที่มีความสวยงาม และต่อมาได้ทำการขุดปรับแต่งเนินดินให้เป็นพื้นที่ราบ และเป็นที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ในปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 เป็นสภาตำบลโพนงาม ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2539 และได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2539 (ไฟล์แนบเพื่อโหลด)

ตราสัญลักษณ์หน่วยงาน


ความหมายของดวงตราสัญลักษณ์
เนินดิน หรือโพน หมายถึง สภาพพื้นที่ตั้งของตำบลโพนงาม ตั้งอยู่ในที่ราบสูงไม่มากนัก เหมาะแก่การอยู่อาศัยและตั้งบ้านเรือน ดวงอาทิตย์ คือความสว่างไสว พร้อมมุ่งสูงการพัฒนาทุกด้าน รวงข้าว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ของพื้นที่ตำบลโพนงาม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ประชากรส่วนใหญ่ทำเกษตรกรปลูกข้าว มือผสานกัน คือ ความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความร่วมมือในการพัฒนาของผู้นำทุกภาคส่วน

สภาพทั่วไป

1.ด้านกายภาพ
ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2539 อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอหนองหาน ประมาณ 15 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 66.77 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 41,732 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ คือ ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลผักตบ อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ประกอบด้วยหมู่บ้าน 21 หมู่บ้าน ดังนี้ 1.บ้านโพนงาม 2.บ้านนิคมหนองตาล 3.บ้านสะคาม 4.บ้านทุ่งยั้ง 5.บ้านโคก 6.บ้านหนองสองห้อง 7.บ้านศาลา 8.บ้านดงคำ 9.บ้านดอนบาก 10.บ้านดอนยางเดี่ยว 11.บ้านนางิ้ว 12.บ้านหนองดินจี่ 13.บ้านโคกสว่างนาดี 14.บ้านนิคมหนองตาล 15.บ้านโพนงาม 16.บ้านดงคำ 17.บ้านโคกพัฒนา 18.บ้านโนนศรีพัฒนา 19.บ้านโพนงาม 20.บ้านนิคมหนองตาล 21.บ้านศาลา 1.2 ลักษณะภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบสลับเนินลูกรัง และป่าธรรมชาติมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ เช่น ห้วยเจ้าเอก ไหลผ่าน หมู่ 4,15,19 ห้วยหินกอง ห้วยดาน ไหลผ่าน หมู่ 10,6,5 พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะสำหรับทำการเกษตร 1.3 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื้น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู 1.4 ลักษณะของดิน ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย 1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค จำนวน 5 แห่ง แหล่งน้ำทั้ง 5 แห่งเคยเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชน ดังนี้ ลำห้วย 18 แห่ง สระน้ำ 5 แห่ง หนองน้ำ 9 แห่ง บ่อน้ำตื้น 12 แห่ง ลำคลอง – แห่ง บ่อบาดาล – แห่ง บึง – แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง แม่น้ำ – แห่ง ฝาย 10 แห่ง อื่นๆ (ระบุ) – แห่ง เหมือง – แห่ง 1.5 ลักษณะของไม้และป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ

2.ด้านการเมือง/การปกครอง
ด้านการเมือง/การปกครอง องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีทั้งหมด 21 หมู่บ้าน ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม คือ ขอความร่วมมือ ผู้นำ เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ระมัดระวัง สอดส่องพฤติกรรมและให้รายงานอำเภอทราบ การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เกี่ยวกับข้อกฎหมายของการเลือกตั้งที่กระทำได้และทำไม่ได้ให้ประชาชนได้รับทราบ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ก็ได้พยายามแก้ไข โดยเรื่องจากการประชุมประชาคมท้องถิ่นทุกหมู่บ้าน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น จากผลการประชุมทุกครั้งที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม จัดขึ้นมีประชาชนสนใจเข้าร่วมประชุมรวมทั้งแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ดำเนินงานตามความต้องการของประชาชน และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อสม. และกรรมการชุมชน โครงการอื่น ๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับ มาพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ให้เจริญเท่าเทียมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ส่วนใหญ่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองเสมอมาและประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ยังมีส่วนร่วมในการบริหารงาน การช่วยเหลืองานองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม เสนอแนะในกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น การประชุมประชาคมในการจัดแผนพัฒนาท้องถิ่น ประชุมประชาคมแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ ปัจจุบัน ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม/สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 14 ตุลาคม 2555 และครบวาระการดำรงตำแหน่ง ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นั้น โดยให้ปฏิบัติตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 85/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

3.ประชากร
ประชากร 3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ที่ หมู่บ้าน จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม (ครัวเรือน) 1 บ้านโพนงาม 305 358 663 197 2 บ้านนิคมหนองตาล 477 507 984 302 3 บ้านสะคาม 298 322 620 182 4 บ้านทุ่งยั้ง 228 213 441 127 5 บ้านโคก 360 354 714 200 6 บ้านหนองสองห้อง 233 231 464 151 7 บ้านศาลา 374 333 707 181 8 บ้านดงคำ 491 571 1,062 271 9 บ้านดอนบาก 241 248 489 120 10 บ้านดอนยางเดี่ยว 350 344 694 196 11 บ้านนางิ้ว 361 317 678 175 12 บ้านหนองดินจี่ 181 176 357 102 13 บ้านโคกสว่างนาดี 665 611 1,276 313 14 บ้านนิคมหนองตาล 258 270 528 160 15 บ้านโพนงาม 454 449 903 248 16 บ้านดงคำ 493 437 930 267 17 บ้านโคกพัฒนา 457 446 903 235 18 บ้านโนนศรีพัฒนา 145 150 295 79 19 บ้านโพนงาม 139 147 286 80 20 บ้านนิคมหนองตาล 200 209 409 113 21 บ้านศาลา 311 292 603 153 รวม 7,021 6,985 14,006 3,852

4.สภาพทางสังคม
สภาพทางสังคม 4.1 การศึกษา – ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 6 แห่ง ที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวนเด็กนักเรียน ชาย หญิง รวม 1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.โพนงาม (จัดตั้งเอง) 30 30 60 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกสว่างนาดี 11 21 32 (ถ่ายโอน สปช.) 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสว่างอารมณ์ 24 26 50 (ถ่ายโอนกรมศาสนา) 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกทุ่งยั้ง 26 23 49 (ถ่ายโอน พช.) 5 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดงคำ 19 12 31 6 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลา 25 12 37 – โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 8 แห่ง – โรงเรียนมัธยมศึกษา(ขยายโอกาส) จำนวน 2 แห่ง – ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 21 แห่ง จำนวนนักเรียน / นักศึกษา ในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับชั้น ชั้นปี และเพศ โรงเรียนบ้านดอนยางเดี่ยว ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 5 9 14 อนุบาล อ.2 4 2 6 อ.3 0 0 0 รวม 9 11 20 ป.1 4 2 6 ป.2 3 2 5 ประถมศึกษา ป.3 7 0 7 ป.4 4 5 9 ป.5 2 4 6 ป.6 3 3 6 รวม 23 16 39 รวมทั้งสิ้น 32 27 59 โรงเรียนบ้านศาลา ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 13 12 25 อนุบาล อ.2 11 5 16 อ.3 0 0 0 รวม 24 17 41 ป.1 7 9 16 ป.2 13 8 21 ประถมศึกษา ป.3 5 2 7 ป.4 11 9 20 ป.5 10 7 17 ป.6 8 7 15 รวม 54 42 96 รวมทั้งสิ้น 78 59 137 โรงเรียนบ้านสะคาม ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 3 3 6 อนุบาล อ.2 5 3 8 อ.3 0 0 0 รวม 8 6 14 ป.1 2 0 2 ป.2 2 1 3 ประถมศึกษา ป.3 4 2 6 ป.4 3 3 6 ป.5 5 0 5 ป.6 3 1 4 รวม 19 7 26 รวมทั้งสิ้น 27 13 40 โรงเรียนบ้านหนองสองห้องหนองแห้วโนนศรี ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 4 2 6 อนุบาล อ.2 1 4 5 อ.3 0 0 0 รวม 5 6 11 ป.1 3 4 7 ป.2 5 2 7 ประถมศึกษา ป.3 5 7 12 ป.4 8 5 13 ป.5 4 4 8 ป.6 10 3 13 รวม 35 25 60 รวมทั้งสิ้น 40 31 71 โรงเรียนบ้านโคกทุ่งยั้ง ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 14 7 21 อนุบาล อ.2 12 9 21 อ.3 0 0 0 รวม 26 16 42 ป.1 10 8 18 ป.2 11 10 21 ประถมศึกษา ป.3 5 8 13 ป.4 13 9 22 ป.5 12 9 21 ป.6 11 13 24 รวม 62 57 119 รวมทั้งสิ้น 88 73 161 โรงเรียนบ้านนิคมหนองตาล ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 14 19 33 อนุบาล อ.2 15 12 27 อ.3 0 0 0 รวม 29 31 60 ป.1 10 8 18 ป.2 12 9 21 ประถมศึกษา ป.3 17 13 30 ป.4 14 14 28 ป.5 19 19 38 ป.6 18 19 37 รวม 90 82 172 รวมทั้งสิ้น 119 113 232 โรงเรียนบ้านโพนงาม ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 10 12 22 อนุบาล อ.2 13 15 28 อ.3 0 0 0 รวม 23 27 50 ป.1 5 14 19 ป.2 11 9 20 ประถมศึกษา ป.3 14 8 22 ป.4 11 10 21 ป.5 16 17 33 ป.6 12 11 23 รวม 69 69 138 รวมทั้งสิ้น 92 96 188 โรงเรียนบ้านดงคำ ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 16 15 31 อนุบาล อ.2 10 9 19 อ.3 0 0 0 รวม 26 24 50 ป.1 8 13 21 ป.2 10 7 17 ประถมศึกษา ป.3 12 7 19 ป.4 8 12 20 ป.5 10 8 18 ป.6 11 11 22 รวม 59 58 117 รวมทั้งสิ้น 85 82 167 โรงเรียนบ้านโคกสว่างนาดี ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 14 5 19 อนุบาล อ.2 1 9 10 อ.3 0 0 0 รวม 15 14 29 ป.1 9 6 15 ป.2 13 7 20 ประถมศึกษา ป.3 6 7 13 ป.4 8 4 12 ป.5 7 8 15 ป.6 18 6 24 รวม 61 38 99 รวมทั้งสิ้น 76 52 128 โรงเรียนบ้านนางิ้ว ระดับชั้น ชั้นปี ชาย หญิง รวม อ.1 2 6 8 อนุบาล อ.2 7 3 10 อ.3 0 0 0 รวม 9 9 18 ป.1 9 2 11 ป.2 3 5 8 ประถมศึกษา ป.3 7 7 14 ป.4 7 5 12 ป.5 4 3 7 ป.6 5 5 10 รวม 35 27 62 รวมทั้งสิ้น 44 36 80 4.2 สาธารณสุข จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ประชาชนกรส่วนมากมีสุขภาพที่ดี มีการคัดกรองสุขภาพให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง โรคที่มักเกิดแก่ประชากรในชุมชน เช่นกัน ได้แก่ โรคความดัน เบาหวาน โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก มือ-ปาก-เท้าในเด็ก และโรคอื่น ๆ อีกมาก ปัญหาคือประชาชนบางรายไม่ยอมไปคัดกรองหรือตรวจสุขภาพประจำปี การแก้ไขปัญหา คือ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามและหน่วยงานสาธารณสุข ได้จัดกิจกรรมร่วมมือกันรณรงค์ให้ชุมชนเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ซึ่งก็ได้ผลในระดับหนึ่ง ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ต้องเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับเด็กแรกเกิด – 6 ปี ผู้ปกครองสามารถเลี้ยงดูตรงตามเกณฑ์มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน บางครัวเรือนไม่ได้กินอาหารที่ถูกสุขลักษณะ การใช้ยาเพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วยที่ไม่เหมาะสม การออกกำลังกายยังไม่สม่ำเสมอ และประชากรส่วนมากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ ปัญหาเหล่านี้องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล สถานการณ์/ปัญหาสุขภาพ ในตำบลโพนงาม ลำดับที่ โรคที่ต้องเฝ้าระวังทางด้านระบาดวิทยา ๑ โรคอุจจาระร่วง ๒ โรคระบบทางเดินอาหาร อาหารเป็นพิษ ๓ โรคไข้เลือดออก ๔ โรคอีสุกอีใส ๕ โรคตาแดง ๖ โรคมือเท้าปาก ๗ โรคไข้ไม่ทราบสาเหตุ 4.3 อาชญากรรม องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ไม่มีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้น แต่มีเหตุการณ์ลักขโมยทรัพย์สินประชาชน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ก็ได้ดำเนินการป้องกันการเกิดเหตุดังกล่าว จากการสำรวจข้อมูลพื้นฐานพบว่า ส่วนมากครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน วิธีการแก้ปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ติดตั้งสัญญาณไฟกระพริบทางร่วมทางแยก รวมทั้งได้ตั้งจุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ ในช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดหลายวันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่นโดยเฉพาะในสถานที่จัดงานดนตรี งานมหรสพ เป็นปัญหาที่ชุมชนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก การแก้ไขปัญหา คือการแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองดูแลบุตรหลานของตน ประชาสัมพันธ์ให้ทราบถึงผลกระทบ ผลเสียหาย และโทษที่ได้รับจากการเกิดเหตุทะเลาะวิวาท การขอความร่วมมือไปยังผู้นำ การขอกำลังจาก ตำรวจ ผู้นำ อปพร. เพื่อระงับเหตุไม่ให้เกิดความรุ่นแรง แต่จะไม่ให้เกิดขึ้นเลยยังเป็นปัญหาที่ปัจจุบันไม่สามารถที่จะแก้ไขได้ ทั้งที่มีการร่วมมือกันหลายฝ่าย เป็นเรื่องที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม จะต้องหาวิธีที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนต่อไป ตามอำนาจหน้าที่ที่สามารถดำเนินการได้ 4.4 ยาเสพติด ปัญหายาเสพติดในชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม พบว่าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีผู้ที่ติดยาเสพติดแต่เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นถือว่าน้อย และยังไม่พบผู้ค้า เหตุผลก็เนื่องมาจากว่าได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ ประชาชน หน่วยงานขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ การแก้ไขปัญหาขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม สามารถทำได้เฉพาะตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น เช่น การณรงค์ การประชาสัมพันธ์ การแจ้งเบาะแส การฝึกอบรมให้ความรู้ ถ้านอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ ก็เป็นเรื่องของอำเภอหรือตำรวจแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ก็ได้ให้ความร่วมมือมาโดยตลอด 4.5 การสังคมสังเคราะห์ องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้ดำเนินการด้านสงคมสังเคราะห์ ดังนี้ ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ป่วยเอดส์ รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประสานการทำบัตรผู้พิการ ตั้งโครงการช่วยเหลือผู้ยากจน ยากไร้ รายได้น้อย และผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง ตั้งโครงการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านคนจน ประสานโครงการสงเคราะห์ผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในสภาลำบาก ประสานโครงการปรับที่อยู่อาศัยให้กับคนพิการ ระบบบริการพื้นฐาน ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามมีระบบบริการพื้นฐาน ดังนี้ 5.1 การไฟฟ้า การขยายเขตไฟฟ้า ปัจจุบันมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ปัญหาคือไฟฟ้าส่องสว่างทางหรือที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด 5.2 เส้นทางคมนาคม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม มีเส้นทางคมนาคมในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ที่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ร้อยละ 80 เป้าหมายคือต้องการให้ได้มากกว่านี้หรือร้อยละ 100 โดยผู้บริหารมีนโยบายที่จะดำเนินการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กทุกสาย

5.ระบบเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจ 6.1 การเกษตร ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ดังนี้ – อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 60 ของจำนวนประชากรทั้งหมด – อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมด – อาชีพเลี้ยงสัตว์ ร้อยละ 13 ของจำนวนประชากรทั้งหมด – อาชีพค้าขาย ร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งหมด 6.2 การประมง (ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามไม่มีการประมง) 6.3 การปศุสัตว์ – เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ส่วนมากจะมีผู้ขึ้นทะเบียนไก่พื้นเมือง จำนวน 367 ราย จำนวนไก่พื้นเมือง 12,047 ตัว 6.4 การบริการ – 6.5 การท่องเที่ยว ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีต่าง ๆ การจัดสร้างสวนสาธารณะสำหรับใช้พักผ่อนหย่อนใจ 6.6 การพาณิชย์ ลำดับ ประเภท จำนวน(แห่ง) 1 ปั๊มน้ำมัน ขนาดใหญ่ 2 2 ปั๊มน้ำมันหลอด/หยอดเหรียญ 5 3 ร้านค้าเบ็ดเตล็ด 125 4 ร้านรับซ่อมยานยนต์ 9 5 ร้านเสริมสวย 9 6 โรงสีข้าว 15 7 ร้านเกมส์ 15 8 โรงงาน 7 9 รีสอร์ท 2

6.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)
เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น (ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ) 7.2 ข้อมูลด้านการเกษตรผลผลิตการปลูกข้าว ปลูกพืชไร่ที่สำคัญ ที่ หมู่บ้าน พื้นที่การเกษตร (ไร่) การปลูกพืชไร่อื่น (ไร่) ที่นา ที่ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก ไม้ดอก/ ยางพารา พื้นที่เกษตรอื่นๆ ไม้ประดับ 1 บ้านโพนงาม 800 – 4 10 4 – 27 22 2 บ้านนิคมหนองตาล 1,555 125 6 20 4 – 9 256 3 บ้านสะคาม 628 – 5 10 5 – – 320 4 บ้านทุ่งยั้ง 923 – 10 10 – – – 439 5 บ้านโคก 771 – 20 10 4 – 9 141 6 บ้านหนองสองห้อง 937 – 4 10 5 – 14 253 7 บ้านศาลา 2,220 100 20 20 – – 24 36 8 บ้านดงคำ 2,385 30 45 30 5 – 17 348 9 บ้านดอนบาก 680 – 5 30 – – – 240 10 บ้านดอนยางเดี่ยว 1,077 10 10 15 20 – – 170 11 บ้านนางิ้ว 783 20 5 – – – – 280 12 บ้านหนองดินจี่ 846 – 10 10 5 6 – 257 13 บ้านโคกสว่างนาดี 1,723 130 10 30 4 – – 270 14 บ้านนิคมหนองตาล 728 – 8 15 – – 9 219 15 บ้านโพนงาม 784 230 10 25 5 – 16 280 16 บ้านดงคำ 780 123 13 30 5 – 13 221 17 บ้านโคกพัฒนา 1,124 – 5 18 5 – 30 255 18 บ้านโนนศรีพัฒนา 509 – 2 5 5 – – 270 19 บ้านโพนงาม 746 – 3 15 4 – – 198 20 บ้านนิคมหนองตาล 376 – – 15 2 – – 160 21 บ้านศาลา 1,731 30 10 20 5 – – 196 รวม 22,106 798 205 348 87 6 168 4,831

7.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม 8.1 การนับถือศาสนาพุทธสถาบันทางศาสนา ประเภท จำนวน ชื่อ สถานที่ตั้ง 1.วัด 16 แห่ง 1.วัดสว่างอารมณ์ หมู่ที่ 2 2.วัดสว่างศิริชัย หมูที่ 3 3.วัดโพธิ์สว่าง หมู่ที่ 4 4.วัดอรัญญิกาวาส หมู่ที่ 6 5.วัดโพธิ์ทอง หมู่ที่ 7 6.วัดมงคลชัยราม หมู่ที่ 8 7.วัดรัตนจันทราราม หมู่ที่ 9 8.วัดโพธิ์ศรีสมพร หมู่ที่ 10 9.วัดประยูรบรรลือวราราม หมู่ที่ 10 10.วัดฉิมพลีวัน หมู่ที่ 11 11.วัดศรีทรงธรรม หมู่ที่ 12 12.วัดสระนันทะวัน หมู่ที่ 13 13.วัดโพธิ์ศรีสว่าง หมู่ที่ 15 14.วัดดงคำวราราม หมู่ที่ 16 15.วัดโนนสำราญ หมู่ที่ 17 16.วัดโนนศรีวราราม หมู่ที่ 18 17.วัดอรุณพัฒนาราม หมู่ที่ 19 2. สำนักสงฆ์ 4 แห่ง 1.วัดป่าอนัตตา หมู่ที่ 1 (ยังไม่ได้รับประกาศ 2.วัดป่าไม้น้อย หมู่ที่ 2 จัดตั้งเป็นวัด) 3.วัดป่าโนนขมิ้น หมู่ที่ 5 4.วัดป่าบ้านศาลา หมู่ที่ 7 8.2 ประเพณีและงานประจำปี – ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ประมาณเดือน มกราคม – ประเพณีวันสงกรานต์ ประมาณเดือน เมษายน – ประเพณีลอยกระทง ประมาณเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน – ประเพณีวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ประมาณเดือน กรกฎาคม ตุลาคม พฤศจิกายน 8.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการเลี้ยงไหมและการทอผ้าไหม วิธีการทอเสื่อจากต้นกก และวิธีการจับปลาธรรมชาติ ภาษาถิ่น ส่วนมากร้อยละ 90 % พูดภาษาอีสาน 8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและเหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ ผ้าที่ทอจากผ้าฝ่ายและผ้าไหม เสื่อที่ทอจากต้นกก

8.ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรธรรมชาติ 9.1 น้ำ ที่ใช่ในการอุปโภค-บริโภค เป็นน้ำที่ได้จากน้ำฝน และน้ำประปาผิวดิน ซึ่งจะต้องนำมาผ่านกระบวนการของระบบประปา และน้ำใต้ดินสามารถนำขึ้นมาใช้เพื่ออุปโภคบริโภคได้ 9.2 ป่าไม้ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามไม่มีป่าไม้ 9.3 ภูเขา ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนงามไม่มีภูเขา 9.4 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนงาม ส่วนมากเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย ร้านค้า สถานประกอบการ ตามลำดับ และมีพื้นที่บางส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็ได้แก่ ดิน น้ำ ต้นไม้ รณรงค์โครงการปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่าง ๆ ในพื้นที่ของตนเองและที่สาธารณะรวมทั้งปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ของเมืองให้ร่มรื่นสวยงาม ให้เป็นเมืองน่าอยู่ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ฯลฯ